(H/W, S/W, P/W) ที่ทำการเก็บรวบรวมและนำข้อมูลเข้าสู่ระบบ เพื่อประมวลผลข้อมูล และผลิตสารสนเทศที่ต้องการ เพื่อนำไปใช้งานในองค์กร
ประเภทของระบบสารสนเทศ
1. Transaction Processing system (TPS)
2. Management Information System (MIS)
3. Decision Support System (DSS)
4. Executive Information System (EIS)
5. Expert system (ES)
Transaction Processing Systems (TPS)
คือ ระบบที่ใช้ในการดำเนินการเกี่ยวกับ งานขั้นพื้นฐานขององค์กร (Routine Work) หรือเกี่ยวกับการบันทึกรายการเปลี่ยนแปลง(Transaction) ขั้นพื้นฐานต่างๆ ที่เกี่ยวกับการดำเนินงานในองค์กร เช่นการฝากเงิน การถอนเงิน การซื้อ/ ขายสินค้า
Management Information Systems (MIS)
MIS หรือ ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการเป็นระบบสารสนเทศที่นำข้อมูล (ซึ่งสร้างโดย TPS) มาผ่านกระบวนการที่นำไปสู่ข้อสรุปของข้อมูลดังกล่าว สารสนเทศที่ได้จาก MIS จะแสดงในรูปของ Periodic Report ซึ่งจะใช้เป็นข้อมูล สำหรับการวางแผนการดำเนินงาน (Planning) ควบคุมการดำเนินงาน (Controlling) หรือช่วยในการตัดสินใจ (Decision Making) เช่น รายงานสรุปยอดขายรายเดือน/ ปี รายงานแสดงจำนวนลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการ ฯลฯ
MIS จะผลิตสารสนเทศที่นำมาใช้ในการแก้ปัญหาแบบ มีโครงสร้าง (Structured Problem) เช่น การพิจารณาเพิ่มยอดการผลิตสินค้า โดยอาศัยข้อมูลจาก รายงานสรุปยอดขายรายเดือน
Decision Support Systems (DSS)
DSS หรือ ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ เป็นระบบสารสนเทศที่ช่วยในการตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดการ โดยจะทำการรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลดังกล่าว เพื่อนำมาซึ่งทางเลือกที่ใช้ในการแก้ปัญหาแบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-Structured Problem) หรือปัญหาที่ไม่มีโครงสร้าง (Unstructured Problem)
DSS เป็นระบบที่พัฒนาต่อเนื่องมาจาก MIS ที่ขาดการชี้แนะ หรือเสนอทางเลือกให้กับผู้ใช้ (Decision Maker) ซึ่ง MIS จะนำเสนอแค่ยอดรวมของสิ่งที่สนใจเท่านั้น ในขณะที่ DSS จะเป็นระบบที่ถูกออกแบบมาให้มีความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลในลักษณะของ What-If Analysis รวมทั้งแจกแจงทางเลือกทั้งหมดให้กับผู้ใช้ (Decision Maker)
Executive Information Systems (EIS)
EIS คือ DSS ประเภทหนึ่งที่ถูกออกแบบมาเพื่อช่วยสนับสนุนการตัดสินใจ ที่จะเกิดขึ้นในระดับ Top-Level Management ซึ่งการทำงานในระดับนี้จะเกี่ยวข้องกับการวางแผนในเชิงกลยุทธ์ขององค์กร (Strategic Planning)
EIS จะต้องสามารถใช้งานได้ง่าย (Easy to use) เนื่องจากผู้ใช้ของระบบคือผู้บริหารระดับสูง ซึ่งอาจเป็นผู้ไม่มีความชำนาญในเชิงคอมพิวเตอร์มากนัก
Expert System (ES)
ES (หรือระบบผู้เชี่ยวชาญ) เป็นระบบสารสนเทศประเภทหนึ่งที่ถูกออกแบบมาให้สามารถคิด/ วิเคราะห์หาคำตอบ สำหรับสถานการณ์ใดๆ ลักษณะการคิด/ วิเคราะห์ของ ES ได้ถูกจำลอง หรือลอกเลียนแบบมาจาก วิธีการคิด/ วิเคราะห์ของผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้นๆ
Information Technology(IT) แปลว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง เทคโนโลยีในการรวบรวมข้อมูล การจัดเก็บอย่างมีระบบ การเรียกหาข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว การประมวลผล การวิเคราะห์ผลที่ได้จากการประมวลนั้น รวมไปถึงการเน้นในเรื่องการแสดงผล และประชาสัมพันธ์สารสนเทศนั้นอย่างมีประสิทธิภาพ ในรูปแบบที่เหมาะสมกับผู้ที่จะนำไปใช้ต่อไป ตลอดไปจนถึงการสื่อสารข้อมูลนั้นไปยังหน่วยงานต่าง ๆ ด้วย
องค์ประกอบระบบสารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการที่ใช้คอมพิวเตอร์ (Computer-based information systems CBIS) มีองค์ประกอบที่สำคัญ 5 ส่วนคือ ฮาร์ดแวร์ (hardware) ซอฟต์แวร์ (software) ฐานข้อมูล (database) เครือข่าย (network) กระบวนการ (procedure) และคน (people)
- ฮาร์ดแวร์ (Hardware) ได้แก่ อุปกรณ์ที่ช่วยในการป้อนข้อมูล ประมวลจัดเก็บ และผลิต เอาท์พุทออกมาในระบบสารสนเทศ
- ซอฟต์แวร์ (Software) ได้แก่ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ช่วยให้ฮาร์ดแวร์ทำงาน
- ฐานข้อมูล (Database) คือ การจัดระบบของแฟ้มข้อมูล ซึ่งเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกัน
- เครือข่าย (Network) คือ การเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันเพื่อช่วยให้มีการใช้ทรัพยากรร่วมกัน และช่วยการติดต่อสื่อสาร
- กระบวนการ (Procedure) ได้แก่ นโยบาย กลยุทธ์ วิธีการ และกฎระเบียบต่างๆ ในการใช้ระบบสารสนเทศ
- คน (People) เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดในระบบสารสนเทศ ซึ่งได้แก่ บุคคลที่เกี่ยวข้องในระบบสารสนเทศ เช่น ผู้ออกแบบ ผู้พัฒนาระบบ ผู้ดูแลระบบ และผู้ใช้ระบบ
ระบบสารสนเทศสามารถจัดแบ่งประเภทได้หลายวิธี โดยสามารถแบ่งประเภทของระบบสารสนเทศที่สำคัญเป็น 3 ประเภท ดังนี้
1. ระบบสารสนเทศจำแนกตามประเภทของธุรกิจ
การดำเนินงานขององค์กรมีลักษณะที่แตกต่างกัน ดังนั้นระบบบสารสนเทศจึงต้องมีการออกแบบให้สอดคล้องและหมาะสมกับลักษณะงาน ขององค์กรเหล่านั้น ระบบสารสนทศที่จำแนกตามประเภทของธุรกิจโดยทั่วไปจะเป็นระบบสารสนเทศขนาดใหญ่ ที่ประกอบด้วยระบบสารสนเทศที่จำแนกตามหน้าที่ย่อยๆ หลายระบบ เช่น ระบบสารสนเทศงานบริหารโรงแรมสวนดุสิตเพลซ จะประกอบด้วยระบบสารสนเทศย่อย ได้แก่ ระบบสำรองห้องพัก ระบบบัญชี ระบบการจัดการ ห้องพัก และระบบริหารงานบุคคล
1. ระบบสารสนเทศจำแนกตามประเภทของธุรกิจ
การดำเนินงานขององค์กรมีลักษณะที่แตกต่างกัน ดังนั้นระบบบสารสนเทศจึงต้องมีการออกแบบให้สอดคล้องและหมาะสมกับลักษณะงาน ขององค์กรเหล่านั้น ระบบสารสนทศที่จำแนกตามประเภทของธุรกิจโดยทั่วไปจะเป็นระบบสารสนเทศขนาดใหญ่ ที่ประกอบด้วยระบบสารสนเทศที่จำแนกตามหน้าที่ย่อยๆ หลายระบบ เช่น ระบบสารสนเทศงานบริหารโรงแรมสวนดุสิตเพลซ จะประกอบด้วยระบบสารสนเทศย่อย ได้แก่ ระบบสำรองห้องพัก ระบบบัญชี ระบบการจัดการ ห้องพัก และระบบริหารงานบุคคล
2. ระบบสารสนเทศจำแนกตามหน้าที่ของงาน ระบบสารสนเทศที่จำแนกตามลักษณะหรือหน้าที่ของงานหลัก ซึ่งแต่ละระบบสามารถประกอบด้วยระบบสารสนเทศย่อยๆ ที่เป็นกิจกรรมของงานหลัก เช่น ระบบสารสนเทศจัดการทรัพยากรมนุษย์ อาจประกอบด้วยระบบย่อยๆ ได้แก่ ระบบการจัดการข้อมูลพนักงาน ระบบการสรรหาและคัดเลือก ระบบฝึกอบรม ระบบประเมินผล และระบบสวัสดิการ เป็นต้น
3. ระบบสารสนเทศจำแนกตามลักษณะการดำเนินการ
เนื่องจากผู้บริหารองค์กรมักมีระดับในการบริหารที่แตกต่างกัน ได้แก่ ผู้บริหารระดับปฏิบัติการ ผู้บริหารระดับกลาง และผู้บริหารระดับสูง ดังนั้นจึงทำให้มีความต้องการการใช้ระบบสารสนเทศที่แตกต่างกัน โดยแบ่งระบบสารสนเทศที่อิงคอมพิวเตอร์ (Compute-based Information System) ได้เป็น 6 ประเภท
3.1 ระบบสารสนเทศประมวลผลธุรกิจ (Transaction Processing System;IPS) เป็นระบบสารสนเทศประเภทแรกที่นิยมนำมาใช้อย่างแพร่หลาย เพื่อประมวลผลที่รวดเร็วลดค่าใช้จ่าย และปรับปรุงการให้บริการลูกค้า ทำหน้าที่รวบรวม บันทึกข้อมูลในแฟ้มข้อมูลหรือฐานข้อมูล และประมวลผลข้อมูลที่เกิดจากการทำธุรกรรม และการปฏิบัติงานประจำขององค์กร เช่น การซื้อสินค้าในร้านค้าปลีก การฝากหรือถอนเงินธนาคาร การสำรองห้องพักโรงแรม
3.2 ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information System; MIS) เป็นระบบสารสนเทศที่ประมวลผลและสรุปผลจากแฟ้มข้อมูล ที่ได้จากระบบสารสนเทศประมวลผลธุรกรรม เพื่อจัดทำสารสนเทศตามความต้องการของผู้บริหาร สำหรับนำไปใช้ในการวางแผน ควบคุม กำกับดูแล สั่งการ และประกอบการตัดสินใจ
3.3 ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support Systems; DSS) เป็นระบบสารสนเทศที่นำข้อมูลจากฐานข้อมูลต่าง ๆ มาใช้ในการตัดสินใจ โดยปกติแล้วระบบสารสนเทศประมวลผลธุรกรรม และระบบสารสนเพื่อการจัดการ จะจัดทำรายงานสำหรับควบคุมและกำกับดูแลการปฏิบัติงานทั่วไป
3.4 ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง (Executive Information Systems;EIS หรือ Executive Support Systems;ESS) เป็นระบบสารสนเทศที่ช่วยสนับสนุนการวิเคราะห์ปัญหา ศึกษาแนวโน้ม และการวางแผนกลยุทธ์ ผู้บริหารสามารถเข้าถึงสารสนเทศโดยกำหนดมุมได้ในรูปแบบต่างๆ จึงเป็นระบบที่มีความยืดหยุ่นและคล่องตัวสูง การสรุปสารสนเทศกระทำได้อย่างรวดเร็วต่อความต้องการ
3.5 ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence; AI) และระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert Systems;ES) ให้สามารถปฏิบัติงานเหมือนกับมนุษย์ หรือเลียนแบบการทำงานของมนุษย์ปัญญาประดิษฐ์มีหลายสาขา เช่น การประมวลผลภาษาธรรมชาติ (Natural Language Processing), ศาสตร์ด้านหุ่นยนต์ (Robotics), ระบบการมองเห็น (Vision Systems), ระบบการเรียนรู้ (Learning Systems), เครือข่ายเส้นประสาท (Neural Networks) และระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert Systems) ถึงแม้การใช้ปัญญาประดิษฐ์จะมีข้อจำกัดมากกว่าการใช้ปัญญามนุษย์ แต่ในองค์กรธุรกิจก็นิยมที่จะนำมาประยุกต์ใช้งาน
3.6 ระบบสารสนเทศสำนักงาน (Office Information Systems;OISI) หรือระบบสำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation Sysem; OAS) เป็นระบบสารสนเทศที่นำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของผู้ปฏิบัติงานและผู้บริหาร ซึ่งระบบสารสนเทศสำนักงานสามารถนำมาช่วยงานในหลาย ๆ กิจกรรม เช่น การจัดทำเอกสารรายงาน จดหมายธุรกิจ การส่งข้อความ การบันทึก ตารางนัดหมาย และการค้นหาข้อมูลจากเว็บเพจ
3. ระบบสารสนเทศจำแนกตามลักษณะการดำเนินการ
เนื่องจากผู้บริหารองค์กรมักมีระดับในการบริหารที่แตกต่างกัน ได้แก่ ผู้บริหารระดับปฏิบัติการ ผู้บริหารระดับกลาง และผู้บริหารระดับสูง ดังนั้นจึงทำให้มีความต้องการการใช้ระบบสารสนเทศที่แตกต่างกัน โดยแบ่งระบบสารสนเทศที่อิงคอมพิวเตอร์ (Compute-based Information System) ได้เป็น 6 ประเภท
3.1 ระบบสารสนเทศประมวลผลธุรกิจ (Transaction Processing System;IPS) เป็นระบบสารสนเทศประเภทแรกที่นิยมนำมาใช้อย่างแพร่หลาย เพื่อประมวลผลที่รวดเร็วลดค่าใช้จ่าย และปรับปรุงการให้บริการลูกค้า ทำหน้าที่รวบรวม บันทึกข้อมูลในแฟ้มข้อมูลหรือฐานข้อมูล และประมวลผลข้อมูลที่เกิดจากการทำธุรกรรม และการปฏิบัติงานประจำขององค์กร เช่น การซื้อสินค้าในร้านค้าปลีก การฝากหรือถอนเงินธนาคาร การสำรองห้องพักโรงแรม
3.2 ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information System; MIS) เป็นระบบสารสนเทศที่ประมวลผลและสรุปผลจากแฟ้มข้อมูล ที่ได้จากระบบสารสนเทศประมวลผลธุรกรรม เพื่อจัดทำสารสนเทศตามความต้องการของผู้บริหาร สำหรับนำไปใช้ในการวางแผน ควบคุม กำกับดูแล สั่งการ และประกอบการตัดสินใจ
3.3 ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support Systems; DSS) เป็นระบบสารสนเทศที่นำข้อมูลจากฐานข้อมูลต่าง ๆ มาใช้ในการตัดสินใจ โดยปกติแล้วระบบสารสนเทศประมวลผลธุรกรรม และระบบสารสนเพื่อการจัดการ จะจัดทำรายงานสำหรับควบคุมและกำกับดูแลการปฏิบัติงานทั่วไป
3.4 ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง (Executive Information Systems;EIS หรือ Executive Support Systems;ESS) เป็นระบบสารสนเทศที่ช่วยสนับสนุนการวิเคราะห์ปัญหา ศึกษาแนวโน้ม และการวางแผนกลยุทธ์ ผู้บริหารสามารถเข้าถึงสารสนเทศโดยกำหนดมุมได้ในรูปแบบต่างๆ จึงเป็นระบบที่มีความยืดหยุ่นและคล่องตัวสูง การสรุปสารสนเทศกระทำได้อย่างรวดเร็วต่อความต้องการ
3.5 ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence; AI) และระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert Systems;ES) ให้สามารถปฏิบัติงานเหมือนกับมนุษย์ หรือเลียนแบบการทำงานของมนุษย์ปัญญาประดิษฐ์มีหลายสาขา เช่น การประมวลผลภาษาธรรมชาติ (Natural Language Processing), ศาสตร์ด้านหุ่นยนต์ (Robotics), ระบบการมองเห็น (Vision Systems), ระบบการเรียนรู้ (Learning Systems), เครือข่ายเส้นประสาท (Neural Networks) และระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert Systems) ถึงแม้การใช้ปัญญาประดิษฐ์จะมีข้อจำกัดมากกว่าการใช้ปัญญามนุษย์ แต่ในองค์กรธุรกิจก็นิยมที่จะนำมาประยุกต์ใช้งาน
3.6 ระบบสารสนเทศสำนักงาน (Office Information Systems;OISI) หรือระบบสำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation Sysem; OAS) เป็นระบบสารสนเทศที่นำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของผู้ปฏิบัติงานและผู้บริหาร ซึ่งระบบสารสนเทศสำนักงานสามารถนำมาช่วยงานในหลาย ๆ กิจกรรม เช่น การจัดทำเอกสารรายงาน จดหมายธุรกิจ การส่งข้อความ การบันทึก ตารางนัดหมาย และการค้นหาข้อมูลจากเว็บเพจ
ok มั้ยพี่โบ
ReplyDeleteจ้า OK เลย
ReplyDelete